Eco News:การลดใช้หลอดพลาสติกในประเทศเยอรมนี (สคต.แฟรงก์เฟิร์ต)

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.
การลดใช้หลอดพลาสติกในประเทศเยอรมนี หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปร่างระเบียบเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกที่ใช้ ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (single-use) ด้วยมาตรการตั้งเป้าหมายการลดการบริโภค การห้ามวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากพลาสติก เช่น ก้านแคะหู มีด-ช้อน-ส้อม จาน หลอดดูด ที่คนเครื่องดื่ม และขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฝาปิด รวมถึง ลดการผลิตและลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกในสหภาพฯ โดยมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2020 นั้น ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมต่าง ๆ เริ่มปรับตัวเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าวในอนาคตมากขึ้น โดยเฉพาะการลดใช้หลอดพลาสติก และประยุกต์ใช้วัสดุอื่นทดแทน ทั้งนี้ ห้างซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ใน ประเทศอย่าง Rewe และ Lidl มีแผนหยุดจำหน่ายหลอดพลาสติกทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2019 โดยห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต Rewe กว่า 6,000 สาขา รวมถึงบริษัทลูกอย่างห้าง Penny และ Toom Baumarkt จะงดการ จำหน่ายสินค้าดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเท่ากับสามารถช่วยลดปริมาณการบริโภคหลอดพลาสติกได้ถึง 42 ล้าน ชิ้นต่อปี และตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะเริ่มการจำหน่ายหลอดจากกระดาษ ต้นข้าวสาลี และสแตนเลส เป็นต้น เช่นเดียวกับห้างซูเปอร์มาร์เก็ต Lidl กว่า 3,200 สาขา มีแผนงดจำหน่ายสินค้าจากพลาสติกภายในปี ค.ศ. 2019 โดยนอกจากหลอดพลาสติกแล้ว ยังรวมถึงจาน แก้วน้ำ มีด-ช้อน-ส้อม อีกด้วย ปัจจุบัน ในประเทศเยอรมนีมีหลายบริษัทเริ่มจำหน่ายหลอดดูดจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุทางเลือก ต่าง ๆ เช่น หลอดจากต้นข้าวสาลี ภายใต้แบรนด์ Sunny Pipe ซึ่งได้นำมาใช้จริงในร้านอาหารแฟรนไชส์สไตล์ กิน-ดื่มอย่าง Sausalitos หลอดจากแก้ว (บริษัท HALM Trading UG, บริษัท GEFU GmbH) เป็นที่นิยม เช่นกันสำหรับร้านอาหารในโรงแรม เช่น โรงแรม Hamburger Hotels และ Mercure Hotel เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหลอดจากกากแอปเปิ้ลคั้นน้ำ คิดค้นโดยบริษัทสตาร์ทอัพ Wisefood GmbH ซึ่งเป็นวัสดุจาก ธรรมชาติและสามารถกินได้ อย่างไรก็ตาม หลอดจากวัสดุธรรมชาติยังมีข้อเสีย เช่น มีความคงทนน้อย และไม่ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ าได้ ที่มา: Allgemeinen Hotel- und Gastronomie-Zeitung (AHGZ) www.sueddeutsche.de www.ngin-food.com