สวนออร์แกนิก ปลูกผักปลอดสารได้ใน 9 ขั้นตอน

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.

ทุกวันนี้สวนออร์แกนิกได้รับความสนใจมากขึ้นทุกวัน เพราะการปลูกพืชแบบออร์แกนิกมีส่วนช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังปลอดภัยต่อคนและสัตว์อีกด้วย ซึ่งคำว่าออร์แกนิกก็ยังหมายความว่าจะต้องปลูกพืชโดยพยายามเลี่ยงไม่ใช้สารสังเคราะห์ และสารเคมีทั้งหลาย เป็นการปลูกพืชแบบเน้นความเป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด และช่วยให้พืชสามารถดูแลและป้องกันศัตรูพืชทุกชนิดได้ด้วยตัวเองมากกว่า และถ้าคุณกำลังสนใจอยากทำสวนออร์แกนิกในบ้าน ก็ลองมาดูขั้นตอนการปลูกสวนออร์แกนิกแบบง่าย ๆ ตามนี้ได้เลยค่ะ >>>1. เตรียมดิน ก่อนจะปลูกพืชเพื่อทำสวนอะไรก็ตาม เราควรต้องทดสอบคุณภาพของดินก่อน เพราะถ้าหากดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืชอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะปลูกต้นอะไรก็จะงอกงามได้อย่างสวยงาม ซึ่งก่อนอื่นก็ต้องนำตัวอย่างดินไปตรวจสอบธาตุอาหารที่มีอยู่ รวมทั้งค่า pH ของดินที่ด้วย เพื่อที่เราจะได้ทราบความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาของดินในแปลงปลูก รวมทั้งรับคำแนะนำการแก้ไขปรับปรุงดินให้พร้อม และถ้าหากทราบผลของดินแล้ว ควรเลือกปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยชีวภาพ เพราะในปุ๋ยชีวภาพจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืช อีกทั้งยังปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพของพืชที่จะปลูกด้วย>>> 2. ใช้ปุ๋ยหมักดูแลสวน ปุ๋ยหมักชีวภาพมีประโยชน์และสำคัญมากกับสวนออร์แกนิก เพราะเป็นตัวส่งเสริมให้สวนออร์แกนิกของเราเจริญเติบโตได้อย่างสวยงาม เนื่องจากมีอัตราส่วนของไนโตรเจน คาร์บอนด์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่เหมาะสมและปลอดภัย แถมปุ๋ยหมักยังช่วยลดเศษซากพืชที่เน่าเสีย ไม่ให้กลายเป็นขยะสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีด้วย นอกจากนี้ปุ๋ยชีวภาพยังช่วยลดวัชพืช และให้สารอาหารแก่ดินได้ค่อนข้างครบถ้วน ซึ่งเราก็สามารถทำปุ๋ยหมักชีวภาพด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังนี้ หาภาชนะขนาดความลึกประมาณ>>> 3 ตารางฟุตมาเตรียมไว้ ใส่ใบไม้แห้งลงไป โรยปุ๋ยคอกทับ ใส่เศษอาหาร หรือเศษผัก โรยปุ๋ยคอกทับอีกชั้น ความสูงของกองเศษอาหารไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร โรยใบไม้แห้งลงไปอีก ความสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร จากนั้นจะนำเศษอาหารมาโรยทับบาง ๆ อีกชั้นก็ได้ หาอะไรมากดทับเศษอาหารและเศษผักให้อัดแน่นให้ได้มากที่สุด แล้วหมักทิ้งไว้ 30 วัน พอครบกำหนดเวลาแล้วให้ใช้พลั่วค่อย ๆ ตักปุ๋ยชีวภาพด้านล่างเอามาใช้ได้เลย 3. เลือกพืชที่เหมาะสม ก่อนจะปลูกพืชในสวนออร์แกนิก เราควรเฟ้นหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในสวนออร์แกนิกของเราด้วย เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างสุขภาพดีและแข็งแรง โดยสิ่งที่ต้องดูโดยรวมก็คือ พืชชนิดนั้นเป็นพืชที่ชอบแดด ชอบน้ำ และความชื้นมากแค่ไหน ซึ่งต้องไม่เกินความสามารถของสวนเราที่จะรองรับพืชเหล่านี้ด้วย อีกทั้งสุขภาพพืชก่อนปลูกก็สำคัญไม่น้อย ถ้าซื้อเป็นต้นกล้าก็ควรจะเลือกต้นกล้าที่รากสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เหลืองหรือมีแมลงเกาะติด ดูแล้วอ่อนแอ แต่ถ้าจะเพาะเมล็ดก็ควรเลือกซื้อเมล็ดที่ยังไม่หมดอายุ และก่อนจะนำไปเพาะก็ควรตรวจสอบคุณภาพเมล็ด ด้วยการนำไปโรยใส่ทิชชูเปียก และนำทิชชูเปียกอีกแผ่นโปะทับอีกที เพื่อดูคุณภาพเมล็ดว่าฝ่อหรือไม่ฝ่อ ถ้าภายใน 3-4 วัน พืชสามารถงอกรากออกมาได้ ก็แสดงว่าเมล็ดมีความสมบูรณ์ดี สามารถนำไปปลูกได้ตามปกติ>>> 4. ปลูกพืชในกระบะ การปลูกพืชในกระบะจะช่วยให้เราสามารถควบคุมดูแลพืชได้สะดวก ทั้งเรื่องสารอาหารในดิน ลดความเสี่ยงในการถูกเหยีบย่ำทำลาย และลดการกระจายของโรคพืชและแมลงได้อีกด้วย ซึ่งการปลูกพืชในกระบะก็ต้องไม่ลืมเว้นระยะห่างของการปลูกพืชให้เหมาะสม ไม่ควรปลูกพืชชิดกันจนเกินไป เพราะพืชจะแย่งน้ำและสารอาหาร รวมทั้งบดบังแสงแดดกันได้ โดยเฉพาะถ้าคุณจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง หรือปลูกไม้ดอกยืนต้น ก็ควรเลือกปลูกพืชชนิดเดียวในกระบะ 1 ใบ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลสวนออร์แกนิกเท่าไหร่ แนะนำให้เลือกปลูกมะเขือเทศ เพราะเป็นไม้เถาที่ดูแลง่าย โตไว มีสีสันสดใส และถึงแม้จะร่วงก็สามารถงอกใหม่ได้ไม่ยาก หรือบรรดาพืชตระกูลถั่ว กะหล่ำ และคะน้า ก็เป็นพืชที่ปลูกง่าย และโตไวเช่นกัน >>>5. รดน้ำให้เหมาะสม เมื่อปลูกพืชแล้ว คราวนี้ก็ถึงขั้นตอนของการดูแล โดยควรจะรดน้ำให้ต้นไม้อย่างเหมาะสมทุกเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการรดน้ำต้นไม้ เนื่องจากในช่วงเช้าอากาศจะเย็น มีน้ำค้างและความชื้นที่พอดี อีกทั้งลมก็ยังไม่แรง เวลารดน้ำละอองและหยดน้ำที่เรารดลงไปจะไม่กระเด็นออกนอกกระถาง ต้นไม้ก็จะได้รับน้ำอย่างเต็มที่ แต่ถ้าคุณเลือกรดน้ำต้นไม้ในตอนเย็น ความชื้นในดินจะอยู่ตลอดทั้งคืน เสี่ยงที่เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจะเกาะตัวอยู่ที่รากต้นไม้ จนทำให้รากเน่าได้ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้รดน้ำต้นไม้ด้วยมือจะดีที่สุด และพยายามรดน้ำที่หน้าดินมากกว่ารดไปที่ใบ เพราะอย่าลืมว่ารากต้นไม้อยู่ด้านล่างนะคะ ต้นไม้ไม่สามารถดูดกินน้ำผ่านทางใบได้ และควรจะรดน้ำให้พอชุ่มก็พอ ไม่ต้องรดมากถึงขั้นมีน้ำขังอยู่ในกระถางหรือกระบะปลูกต้นไม้ แต่ต้องหมั่นรดน้ำทุกวัน >>>6. กำจัดวัชพืช ในเมื่อเราปลูกพืชบนดิน มีสารอาหารและความชื้นที่เหมาะสม ก็ย่อมต้องมีวัชพืชขึ้นมารบกวนสวนออร์แกนิกของคุณอย่างแน่นอน และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นสวนออร์แกนิก ครั้นจะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเหล่านี้คงไม่เหมาะเท่าไร ดังนั้นก็ลงมือถอนวัชพืชด้วยตัวเองเลยดีกว่า ถอนด้วยมือนี่ล่ะค่ะ ฟังดูอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ก็นึกซะว่าเป็นการออกกำลังกาย และหาโอกาสมาสูดอากาศบริสุทธิ์สักหน่อยก็ได้ หรือถ้ารวมพลคนในบ้านมาร่วมด้วยช่วยกันก็จะดีมาก จะได้ใช้โอกาสนี้ทำกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ด้วยกัน คนละไม้คนละมือแบบนี้แป๊บเดียววัชพืชก็หายวับราวกับไม่เคยมีแล้วล่ะ >>>7. ไล่แมลง เมื่อมีวัชพืชก็ต้องมีแมลงที่เป็นศัตรูพืชเช่นกัน ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาแบบถาวร คงต้องมาดูเรื่องสุขภาพของดิน และสภาพแวดล้อมโดยรวมของสวนออร์แกนิก เพราะถ้าพืชอยู่กันอย่างมีความสุขดี บรรดาวัชพืชและศัตรูพืชก็จะไม่ค่อยมาก่อกวนให้เสียหาย ดังนั้นคุณควรนำตัวอย่างดินไปตรวจสอบคุณภาพดิน เพื่อที่จะได้กลับมาฟื้นฟูสุขภาพดินได้อย่างเหมาะสม ส่วนวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก็อาจจะเลือกวิธีธรรมชาติอย่างการปล่อยกบ คางคก จิ้งจก ตุ๊กแก หรือค้างคาว ให้มาป้วนเปี้ยนอยู่ในสวนบ้าง เพื่อให้เขาเหล่านี้คอยจับแมลงและศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงเต่าทองกิน >>>8. เก็บเกี่ยว หากสวนออร์แกนิกของคุณมีพืชผักสวนครัว หรือผลไม้เยอะ ก็ต้องหมั่นตรวจสอบระยะเวลาการเก็บเกี่ยวของเขาให้ดี เมื่อมีผลสุกงอมก็ควรเก็บเกี่ยวมารับประทาน อย่าปล่อยให้ร่วงใต้ต้นอย่างเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะบรรดาพริกขี้หนู และกะเพราะ ที่ควรเด็ดเก็บในช่วงสาย ๆ ของวัน ก่อนที่ต้นและใบจะถูกแดดเผาจนเหี่ยว แต่ถ้าเป็นใบโหระพา ควรเก็บในช่วงบ่ายแก่ ๆ เพราะใบจะเขียวสดน่ากินในช่วงนั้น หรือถ้าปลูกผักใบเขียว หรือผักตระกูลกะหล่ำ เมื่อมีผลโตเต็มที่สมควรแก่การเก็บเกี่ยว ก็ให้ใช้มีดใบคมมาตัดดอกกะหล่ำ โดยควรตัดเหนือฐานของดอกเล็กน้อย แต่ถ้าคุณไม่สามารถกินผักเหล่านี้ได้ทัน จะนำไปแบ่งปันเพื่อนบ้านบ้างก็ได้ >>>9. โละสวน พอหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือต้นไม้เริ่มหมดอายุ ก็ควรโละสวนออร์แกนิก เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน ให้พร้อมสำหรับการปลูกพืชครั้งใหม่ โดยวิธีล้างสวนก็สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ถอนต้นพืชออก แล้วนำไปฝังกลบ หรือนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ อีกวิธีก็คือ ล้มต้นไม้ปกคลุมดินไว้อย่างนั้น เพื่อให้เป็นรังและที่อยู่ของสัตว์ เช่น นก เป็นต้น อีกทั้งการปล่อยพืชคลุมดินแบบนี้ยังสามารถปกป้องหน้าดินไม่ให้ถูกกัดเซาะจากน้ำฝน และป้องกันวัชพืชเติบโตผ่านร่องดินขึ้นมาด้วยค่ะ การจะมีสวนออร์แกนิกไว้ที่บ้านก็ไม่ได้ยากเลยเห็นไหมคะ ยิ่งถ้าที่บ้านมีพื้นที่พอให้ลงแปลงปลูกผัก ทำสวนออร์แกนิกแบบนี้ก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ จะได้มีผักปลอดสารพิษจริง ๆ เอาไว้รับประทานกันภายในครอบครัว ปลอดภัยทั้งชีวิตของคนที่คุณรัก และสิ่งแวดล้อมเลยด้วย ( รวบรวมโดยกระปุกดอทคอม )