สารเคมีพาราควอต : นายกฯ โยนอำนาจกก.ไม่แบน “พาราควอต” ยัน ปัญหาสารเคมีอันตรายต้อง “ลด-ละ-เลิก” ในเวลาเร็วที่สุด ไม่รู้กลุ่มทุนชักใยหนุน

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.
“ประยุทธ์” ชี้ เป็นอำนาจกก. กำหนดไม่แบน “พาราควอต” ยัน ปัญหาสารเคมีอันตรายต้อง “ลด-ละ-เลิก” ในเวลาเร็วที่สุด ไม่รู้มีกลุ่มทุนอยู่เบื้องหลัง หนุน เดินหน้าสู่เกษตรอินทรีย์ วันนี้ (18ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติยังไม่แบนสารเคมีอันตรายพาราควอตว่า รัฐบาลก็มุ่งหวังจะให้มีการยกเลิกการใช้ในอนาคต แต่ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้กำหนดออกมา แต่วิธีการที่ผมกำชับไปก็คือ ขอให้ตอบคำถามทุกคนทุกฝ่ายให้ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นสิทธิ์ของคณะกรรมการฯเป็นผู้กำหนด ในส่วนของรัฐบาลก็ต้องเดินหน้าตามแผนอย่างนี้ เพื่อไปสู่การลด ละ เลิก ให้ได้ ภายในระยะเวลาที่เร็วที่สุด วันนี้ก็ชอบพูดกันมากกลุ่มทุนสารเคมี ผมก็ไม่รู้ว่าใคร กลุ่มทุนที่บอกมานั้นเป็นใคร ถามว่ามีบทบาทกำหนดทิศทางสารเคมีของไทย ก็ไปดูให้ดีแล้วกัน ผมคิดว่าบางทีก็เป็นการมองหาวิธีการพูดให้มันเสียหาย “ถ้าเรายังสร้างความเสียหาย ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันต่อไปในวันนี้ วันหน้าหลายสิ่งก็เกิดไม่ได้ ก็ได้พยายามทำหลายอย่าง ให้เกิดการยอมรับ ให้เกิดความเชื่อมั่น การแก้ปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชัน ผมก็พูดไปหลายครั้ง รัฐบาลนี้มีการลงโทษมากมาย มูลค่าหลายหมื่นหลายแสนล้านบาท ก็ยังไม่สนใจกัน ซึ่งทุกอย่างก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เข้ามาเสนอ เข้ามามีส่วนร่วมในทางที่เป็นไปได้ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันเลย แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งผมเองก็ติดตามทุกวันในการแก้ปัญหา” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ในเรื่องการทำเกษตรก็เช่นกัน ตนอยากอธิบายว่าเกษตรเรามีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.เกษตรดั้งเดิม 2.การเกษตรที่ใช้สารเคมี ซึ่งการใช้สารเคมีอะไรต่างๆ ก็ลดลงไปเรื่อยๆ เพราะมุ่งไปสู่การทำเกษตรจีเอพี คือเกษตรที่มีการควบคุมการใช้สารเคมีอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด มีการตรวจสอบ มีการขึ้นทะเบียน วันนี้ก็เพิ่มมากขึ้นหลายล้านไร่ และ3.คือการเกษตรอินทรี ก็มีเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านไร่อีกเหมือนกัน เราต้องแยกเป้าหมายให้ออก เราต้องผลักดันเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรจีเอพี แล้วไปสู่อินทรี ไปดูตัวเลขเหล่านี้มีมากมาย อย่ามาบ่นว่าเราไม่ดูแล เพราะที่ผ่านมาใช้งบประมาณไปมากมายมหาศาลก็ลงไปดูแลทั้งหมดทุกภาคส่วน การสร้างความเข้มแข็งด้วย ให้ความรู้ อบรม พัฒนา รวมไปถึงมาตรการช่วยเหลือเมื่อมีความเดือดร้อน การประกันข้าว ประกันข้างโพด ประกันอะไรต่างๆ ก็ใช้เงินไปมหาศาล หลายแสนล้านบาทของเกษตรกรและอื่นๆอีกด้วย ทั้งการศึกษา การสาธารณสุข ถ้าท่านบอกว่าเอาตรงนั้นมาใส่ตรงนี้ แล้วตรงโน้นลดลงไปเลย ถามว่าความสมดุลของประเทศมันจะเกิดไหม ฝากไปคิดตรงนี้เป็นการบ้านแล้วกัน ( ผู้จัดการรายวัน 18 กุมภาพันธ์ 2562 ) >>>>>>> ข้อมูลอ้างอิง: แถลงการณ์ กรณีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะกรรมการวัตถุอันตรายไม่แบนพาราควอต เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 686 องค์กร รู้สึกผิดหวังและเศร้าสลดที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติไม่แบนพาราควอต สารพิษร้ายแรงที่มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้ว สวนทางกับข้อเสนอของ (1) กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง (2) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (3) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข (4) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (6) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (7) สภาเกษตรกรแห่งชาติ (8) สภาเภสัชกรรม (9) แพทยสภา (10) เครือข่ายประชาคมวิชาการ (11) เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (12) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เป็นต้น ที่เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการยกเลิกสารพิษนี้ภายในปี 2562 เครือข่ายฯผิดหวังเป็นที่สุดต่อบทบาทของนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการระดับสูงกลุ่มหนึ่งในกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้ตัวแทนของกระทรวงเกษตรฯทั้ง 5 คนในคณะกรรมการวัตถุอันตรายเสนอให้มีการใช้พาราควอตต่อไป โดยจะให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ใหม่เมื่อพ้นระยะ 2 ปีไปแล้ว การกระทำดังกล่าวถือเป็นการเพิกเฉยต่อข้อมูลทางวิชาการอันหนักแน่นและเสียงเรียกร้องขององค์กรต่างๆ ปล่อยให้มีการใช้สารพิษร้ายแรงซึ่งคุกคามต่อชีวิตของเกษตรกร ผู้บริโภค และเด็กทารกทุก 1 ใน 2 คนที่จะลืมตามมาดูโลก รัฐบาลคสช. ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ กำกับดูแลหน่วยงานของรัฐ โดยมีกรรมการที่มาจากหน่วยงานของรัฐมากถึง 19 คน จากกรรมการวัตถุอันตรายทั้งหมด 29 คนต้องมีส่วนในความรับผิดชอบในการลงมติที่เอื้อต่อประโยชน์ของบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืชในครั้งนี้ และประชาชนควรจะเป็นผู้ตัดสินใจให้บทเรียนกับผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางนโยบายที่ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ต้องกระทำ รวมทั้งมีมาตรการที่เหมาะสมต่อหน่วยงานและผู้ที่ลงมติไม่แบนสารพิษร้ายแรงครั้ังนี้จำนวน 16 คนด้วย เครือข่ายฯขอขอบคุณ กรรมการวัตถุอันตรายเสียงข้างน้อย จำนวน 5 คน ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขและ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ที่ลงมติให้มีการคุ้มครองชีวิตของประชาชนและปกป้องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสารพิษโดยการเสนอให้มีการแบนสารพิษดังกล่าว เครือข่ายขอประกาศว่า จะเดินหน้าเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการยกเลิกพาราควอตและสารพิษร้ายแรงอื่นๆต่อไป โดยสนับสนุนให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการยื่นเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง รณรงค์ไม่สนับสนุนสินค้าและบริการจากผู้ผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสารพิษร้ายแรง และร่วมกันรณรงค์ไม่ให้บุคคล กลุ่มบุคคล ที่เลือกข้างกลุ่มทุนสารพิษ ไม่ให้เข้ามามีอำนาจในการบริหารประเทศอีก ปัญหาอุปสรรคในการแบนสารพิษร้ายแรง สะท้อนให้เป็นความอัปลักษณ์ของกฎหมายวัตถุอันตรายที่ให้อำนาจการแบนสารพิษไปไว้ในมือของหน่วยงานที่ปราศจากความรู้และความตระหนักในเรื่องความสำคัญของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลากรบางกลุ่มในคณะกรรมการกับบริษัทสารพิษ ซึ่งสังคมไทยต้องใช้ความรู้และพลังของประชาชนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้อย่างถึงราก เราเห็นการเติบโตและตื่นขึ้นของพลังประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ เราเห็นการลุกขึ้นขององค์กรและสภาวิชาชีพต่างๆที่ลุกขึ้นเปล่งเสียงเรียกร้องให้ยุติการใช้สารพิษร้ายแรงซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อระบบเกษตรกรรม อาหาร และชีวิตของพวกเราทั้งหมด พลังเหล่านี้จะเติบโตขยายตัวมากขึ้น เราเชื่อมั่นในพลังของประชาชนว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เกิดขึ้น ในระยะเวลาอันใกล้ เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร (14 กุมภาพันธ์ 2562)