แนวโน้มสินค้าเกษตรอินทรีย์ : กรมเจรจาฯ ขึ้นเหนือ พบสินค้าเกษตรช้างเผือกเพียบ พร้อมจุดประกายให้เกษตรกรเห็นโอกาสของการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยผลลงพื้นที่ตามหาช้างเผือกพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง พบมีสินค้าหลากหลายที่สามารถผลักดันให้ใช้สิทธิ์ FTA ส่งออกได้ เหตุสินค้ามีเรื่องราว มีการใช้นวัตกรรมผลิต มั่นใจโกอินเตอร์เจาะตลาดที่ลดภาษีให้ไทยแล้ว ทั้งอาเซียน จีน อินเดีย ญี่ปุ่นได้แน่ *** นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัย สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบปะเกษตรกรภาคเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค.2562 ณ จังหวัดสุโขทัย ภายใต้โครงการ “เพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี ครั้งที่ 4” ว่า จากการติดตามดูสินค้าที่กลุ่มเกษตรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ผลิตได้ พบว่า มีสินค้าของผู้ผลิตหลายรายมีศักยภาพที่จะพัฒนาออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อส่งออกได้ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน จีน อินเดีย และญี่ปุ่น เป็นต้น ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ให้ไทยแล้ว โดยสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น การปลูกกาแฟให้มีกลิ่นทุเรียน มีความหวานของน้ำตาลฟรุตโตส และคั่วมือ รวมทั้งแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งรูปแบบเมล็ดกาแฟคั่วบด และดริป การปลูกส้มปลอดสารพิษ ที่มีการแปรรูปด้วยนวัตกรรมเป็นสบู่ส้ม สเปรย์กันยุง น้ำหมักชีวภาพ ส้มผงแห้ง และการใช้นวัตกรรมแปรรูปจากทุกส่วนของต้นกล้วย เช่น กระทงบรรจุภาชนะขึ้นรูป กระเป๋า ของตกแต่งบ้านจากใยกล้วย เมนูอาหารคาวหวาน และล่าสุดละมุดอินทรีย์ ที่มีแนวโน้มดี โดยปัจจุบันขายในห้างโมเดิร์นเทรดได้แล้วและยังส่งออกไปต่างประเทศ เช่น เยอรมนีได้แล้ว ซึ่งสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ สามารถที่จะขยายตลาดส่งออก โดยใช้ FTA ในการเปิดทางได้ ทั้งนี้ ยังพบเกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน และมีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสร้างเครือข่ายกับร้านกาแฟสด ที่พักโฮมสเตย์ และจับมือกับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ และเกษตรกรผู้ปลูกส้มสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยการสร้างทางเดินไม้ไผ่บนยอดต้นส้ม เปลี่ยนภาพลักษณ์สู่สวนส้มปลอดภัยไร้สารพิษ ทำให้เป็นจุดเช็คอินท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น ***นอกจากนี้ ส้มปลอดสารพิษ ใบตองตานี ละมุดของสุโขทัย อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งหากขึ้นทะเบียนสำเร็จ จะช่วยให้สินค้าสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น เพราะมีเรื่องราวและคุณสมบัติพิเศษต่างจากผลไม้ชนิดเดียวกันที่ผลิตจากแหล่งอื่น ขณะเดียวกัน กรมฯ ยังได้นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าและการตลาดมาติวเข้ม วิเคราะห์สินค้า และแนะนำตลาดส่งออกที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยเกษตรกรให้ความสนใจนำสินค้ามาวิเคราะห์และจำหน่ายกันอย่างคึกคัก เช่น กาแฟ น้ำผลไม้ กล้วยตาก ผักผลไม้ออร์แกนนิก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะขามป้อม มังคุด ฝรั่ง มะเขือเทศ ข้าวอินทรีย์ น้ำมันรำข้าว และผ้าซิ่นตีนจก เป็นต้น “การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ยังได้ติดตามงานของกรมฯ ที่ได้ดำเนินการร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้จุดประกายให้เกษตรกรเห็นโอกาสของการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ประสบความสำเร็จ สามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปถึง 10 เท่า และสินค้ายังเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เริ่มรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น”นางอรมนกล่าว